ง่ายๆ ข้าวเหนียวนิ่ม - ง่ายๆ ข้าวเหนียวนิ่ม นิยาย ง่ายๆ ข้าวเหนียวนิ่ม : Dek-D.com - Writer

    ง่ายๆ ข้าวเหนียวนิ่ม

    ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของคนอีสานซึ่งจะต้องใช้เวลาในกานแช่ข้าวนานทางเราจึงคิดด้นวิธีแช่ข้าวในเวลาไม่นาน

    ผู้เข้าชมรวม

    4,039

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    4.03K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  19 ก.พ. 54 / 11:13 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น


    รายงานโครงงาน

     

    เรื่อง    ง่ายๆข้าวเหนียวนิ่ม

     

    รายชื่อผู้จัดทำ
    . นางสาวดาริน       คาดสนิท   เลขที่ ๑๓
    ๒.นางสาวลักษ์คณา  เจริญพรม เลขที่ ๒๖

    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒

     

    เสนอ

    คุณครูปราณปรียา   คุณประทุม

     

    โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา

    อำเภอแก้งคร้อ   จังหวัดชัยภูมิ
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๐

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      โครงงานวิทยาศาสตร์

       รื่อง                                    ง่ายๆ ข้าวเหนียวนิ่มได้

       

      คณะผู้จัดทำ                              1. นางสาวดาริน คาดสนิท

                                                        2. นางสาวลักษ์คณา เจริญพรม

       

      อาจารย์ที่ปรึกษา                       1. นางสาวปราณปรียา คุณประทุม

       

      โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา    อำเภอแก้งคร้อ    จังหวัดชัยภูมิ

      ………………………………………………………………………………………………………………

       

      บทคัดย่อ

      ในการเหนือ ข้าวเหนียวถือว่าเป็นอาหารหลักที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกัน และก่อนที่จะได้ข้าวเหนียวมารับประทานนั้นจะต้องมีการนำเอาข้าวสารไปแช่ในน้ำแล้วทิ้งไว้ค้างคืนก่อนที่จะนำมานึ่ง ถ้าแช่ข้าวสารในระยะเวลาสั้นๆ ข้าวเหนียวที่ได้จะแข็ง หรือบางครั้งก็จะไม่สุกเลยก็ว่าได้ และจากการได้ไปพบเห็นชาวบ้านบางกลุ่มที่ใช้เกลือใส่ลงไปในน้ำแช่ข้าวสาร กลุ่มผู้ทำโครงงานจึงได้ทดลองการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือเพื่อนำผลการทดลองที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับชาวบ้านกลุ่มอื่นๆในท้องถิ่น การทดลองมีอยู่ 3 ตอน ตอนที่ 1 คือเอาข้าวสารพันธุ์สันป่าตองปริมาณที่เท่ากัน 2 ส่วนส่วนหนึ่งนำไปแช่ในน้ำเปล่า อีกส่วนหนึ่งนำไปแช่ในน้ำเกลือ ใช้ระยะเวลาในการแช่เท่ากันคือ 30 นาที แล้วนำข้าวสารที่ได้ไปล้างด้วยน้ำเปล่า จากนั้นนำไปนึ่งโดยใช้เวลา 15 นาที ผลการทดลองพบว่าข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือจะมีคุณภาพที่ดีกว่าข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่ข้าวสารในน้ำเปล่าในระยะเวลาที่เท่ากัน การทดลองตอนที่ 2 ได้ลองใช้ปริมาณของเกลือต่างกันผลปรากฏว่าปริมาณเกลือที่ไม่ทำให้รสชาติของข้าวเปลี่ยนไป คือ 10 กรัม การทดลองตอนที่ 3 ศึกษาระยะเวลาในการแช่ข้าวสาร โดยเพิ่มระยะเวลาเป็น 60 นาที 90 นาที 120 นาที 150 นาที และ 180 นาทีแล้วนำข้าวเหนียวที่ได้มาสังเกตและเปรียบเทียบกัน จากนั้นนำไปให้ครูนักเรียนผู้ปกครองและชุมชนที่มีช่วงอายุต่างกันจำนวน 100 คนลองรับประทานและแสดงความคิดเห็น สรุปผลการทดลองได้ว่า ข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือมีคุณภาพที่ดีกว่าข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่ข้าวสารในน้ำเปล่าในเวลาที่เท่ากัน ความคิดเห็นคนส่วนใหญ่จัดคุณภาพให้ข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือระยะเวลา 90 นาที ดีกว่าการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือระยะเวลาอื่นๆ และจะเห็นได้ว่าการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือถ้าแช่ไว้นานเกินไปจะทำให้ข้าวเหนียวที่ได้มีรสเค็ม

        

      ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

      คนในหมู่บ้านของข้าพเจ้าส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ก่อนที่จะนำข้าวไปนึ่งให้สุกได้ ต้องมีการนำเอาข้าวสารไปแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วถึงจะนำมานึ่งให้สุกและนิ่มได้ แต่ถ้าแช่ 1-2 ชั่วโมง ข้าวจะแข็งหรือบางทีก็ไม่สุกเลยข้าพเจ้าก็เลยสงสัย ต่อมาวันหนึ่งข้าพเจ้าได้ยินป้าคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันกับข้าพเจ้าว่าในขณะที่เราจะไปแช่ข้าวเมื่อตักน้ำใส่ข้าวแบบตามปกติแล้วก็แค่ใส่เกลือลงไปแล้วเราก็รอสัก 1-2 ชั่วโมง ข้าวที่เราแช่ไว้ก็จะนำไปนึ่งได้แล้ว แต่ก็มีป้าอีกคนหนึ่งที่พึ่งมาจากกรุงเทพมหานครพูดขึ้นว่าจริงหรอป้าไม่เคยเห็นจะได้ยินมาก่อนเลย ฉันก็เลยรู้สึกสงสัยว่าถ้าเราใส่เกลือลงไปมันจะสามารถทำให้ข้าวนิ่มได้ภายใน 1-2 ชั่โมงจริงหรือข้าพเจ้าก็เลยเก็บข้อที่ข้าพเจ้าสงสัยกลับไปถามแม่ที่บ้าน แม่ตอบว่าก็เคยได้ยินมาเหมือนกัน แต่แม่ก็ไม่เคยลองทำดูหรอก ข้าพเจ้าก็เลยกลับไปถามป้าคนที่บอกว่าถ้าเราใส่เกลือลงไปพร้อมกับการแช่ข้าวจะทำให้ข้าวนิ่ม ป้าก็เลยบอกว่าถ้ายังไม่เชื่อก็ลองไปถามคนที่เป็นคนแช่ข้าวในงานศพ         และก็พอดีที่ว่าในหมู่บ้านข้าพเจ้ามีงานศพอยู่ ข้าพเจ้าก็เลยถือโอกาสนี้ไปถามป้าคนหนึ่งที่เป็นคนแช่ข้าวในงานศพ ป้าก็บอกว่าจริงที่ที่ว่าใส่เกลือแล้วทำให้ข้าวนิ่มจริง แต่จมีปัญหาที่ว่าถ้าคนที่ไม่เคยทำแล้วจะไม่รู่ว่าต้องใส่เกลือลงไปประมาณเท่าไร ขนาดป้าเป็นคนที่เคยทำมาบ่อยแล้วบางครั้งก็พลาดคือเผลอใส่เกลฃือมากเกินไปข้าวที่นึ่งได้ออกมาก็เค็ม แต่ถ้าใส่น้อยเกินไปถ้าแช่ข้าวไว้ซัก 1-2 ชั่วโมงข้าวก็จะไม่สุก ข้าพเจ้าก็เลยไปถามป้าว่าแล้วเราจะรู้ไดก้ยังไงว่าถ้าเราใส่ข้าวไปปริมาณเท่านี้แล้วจะใส่เกลือในปริมาณเท่านี้ ป้าก็เลยบอกว่าป้าก็ไม่รู้เหมือนกันจากการที่เคยทำมาก็มาจขากการประมาณเอาทั้งนั้นเลย ป้าก็เลยถามข้าพเจ้าว่าว่าแต่ถามไปทำไมหรอ ข้าพเจ้าก็บอกว่าสงสัยเรื่องนี้มาก แล้วคุณครูก็ให้ทำโครงงานพอดีก็เลยว่าจะนำเรื่องการแช่ข้าวโดยการใส่เกลือไปทำการทดลองว่าจะจริงหรืที่เกลือมีส่วนทำให้ข้าวเหนียวนิ่มได้จริง ป้าก็เลยบอกว่าดีถ้าทำเรื่องนี้แล้วได้ผลออกมายังไงบอกป้าด้วยแล้วกัน หลังจากที่ได้คุยกับป้าเรื่องของการแช่ข้าวแล้วใส่เกลือจะทำให้ข้ามนิ่ม และมารวมกับการที่ได้เห็นการนึ่งข้าวในงานศพ ชาวบ้านจะใส่เกลือลงไปในน้ำแช่ข้าวด้วย ซึ่งบางครั้งข้าวเหนียวที่ได้ก็จะเค็มไป หรือบางทีก็แข็งไป

          จากที่ข้าพเจ้าได้ไปถามมาจากป้าหลายคน และจากที่ข้พเจ้าได้ไปเห็นการแช่ข้าวในงานศพข้าพเจ้าจึงมาคุยกับเพื่อนในกลุ่มว่าการใส่เกลือลงไปในน้ำแช่ข้าวสารทำให้ใช้เวลาในการแช่ข้าวน้อยลงจริงหรือ แล้วข้าวเหนียวที่ได้จะเค็มจริงหรือเปล่า แช่ไว้นานเท่าไรถึงจะพอเหมาะ จากข้อสงสัยต่างๆเหล่านี้ กลุ่มของข้าพเจ้าก็เลยคิดทำโครงงานนี้ขึ้นมา

       

      วัตถุประสงค์ของโครงงาน

      1. เพื่อศึกษาว่าเกลือมีผลต่อระยะเวลาในการแช่ข้าวสารก่อนนำไปนึ่งจนสุก

      2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของข้าวสารที่แช่ในน้ำเกลือและน้ำธรรมดา

      3. เพื่อศึกษาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชาวบ้านในท้องถิ่น

       

      สมมติฐาน

      ตอนที่ 1ถ้าเกลือช่วยลดระยะเวลาในการแช่ข้าวสารได้ ดังนั้น ข้าวสารที่แช่ในน้ำเกลือแล้วนำไปนึ่งจนสุกจะได้ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพที่มีคุณภาพดีกว่าการแช่ข้าวสารในน้ำเปล่า

      ตอนที่ 2ถ้าปริมาณของเกลือที่ใช้ในการแช่ข้าวสารต่างกัน จะมีผลทำให้ข้าวเหนียวที่ได้มีคุณภาพต่างกัน

      ตอนที่ 3ถ้าระยะเวลาในการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้ข้าวเหนียวที่ได้มีรสเค็ม

       

      วัสดุอุปกรณ์


      เตา 
      อุปกรณ์นึ่งข้าว
      ถาดและไม้คนข้าว

       กระติ๊บข้าว 
      น้ำ
      เกลือ

      วิธีการทดลอง

      ขั้นเตรียมการทดลอง

      1. ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการนึ่งข้าว

      2. ทำการนึ่งข้าวโดยวิธีปกติทั่วไป

      3. รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น

      ขั้นทดลอง ตอนที่ 1

      1. นำข้าวสารมาปริมาณ 250 กรัม

      2. นำข้าวสารจากข้อ 1 มาแช่ในน้ำปริมาตร 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทิ้งไว้ 30 นาที

      3. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1 และข้อ 2 แต่ใส่เกลือลงไป 10 กรัม คนให้ทั่วเพื่อให้เกลือละลายทิ้งไว้ 30 นาที

      4. นำข้าวสารจากข้อ 2 ไปล้างน้ำโดยใช้น้ำปริมาตร 2,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วนำไปนึ่งในภาชนะสำหรับนึ่งข้าวใช้เวลาในการนึ่ง 15 นาที หลังจากนั้นนำข้าวที่ได้มาใส่ไว้ในภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียว

      5. นำข้าวสารที่ได้จากข้อ 3 มาทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 4

      6. เปรียบเทียบ สี กลิ่น รส ของข้าวเหนียวที่ได้จากการทดลอง บันทึกผล

      7. อภิปรายผลการทดลองและสรุป

      ขั้นทดลอง ตอนที่ 2

      1. นำข้าวสารมาปริมาณ 250 กรัม แช่ในน้ำปริมาตร 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่เกลือลงไปในน้ำปริมาณ 5

      กรัม คนให้ทั่วทิ้งไว้ 30 นาที

      2. นำข้าวที่ได้จากข้อ 1 ไปล้างด้วยน้ำปริมาตร 2,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วนำไปผึ่งใช้เวลาในการนึ่ง 15 นาที นำข้าว

      เหนียวที่ได้ใส่ในภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียว

      3. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1 และ 2 แต่เปลี่ยนเป็นใส่เกลือ 10 กรัม และ 15 กรัม ตามลำดับ

      4. เปรียบเทียบ สี กลิ่น รส ของข้าวเหนียวที่ได้ทั้ง 3 ส่วน บันทึกผล

      5. วิเคราะห์ผลการทดลอง

      6. อภิปรายผลการทดลองและสรุป

      ขั้นทดลอง ตอนที่ 3

      1. นำข้าวสารพันธุ์สันป่ าตองมาปริมาณ 250 กรัม แช่ในน้ำปริมาตร 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่เกลือลงไปในน้ำปริมาณ 10กรัม คนให้ทั่วทิ้งไว้ 30 นาที

      2. นำข้าวที่ได้จากข้อ 1 ไปล้างด้วยน้ำปริมาตร 2,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วนำไปนึ่งใช้เวลาในการนึ่ง 15 นาที นำข้าวเหนียวที่ได้ใส่ในภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียว

      3. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1 และ 2 แต่เปลี่ยนเป็นแช่ข้าวสารทิ้งไว้ 60 นาที, 90 นาที, 120 นาที, 150 นาที และ 180นาที ตามลำดับ

      4. เปรียบเทียบ สี กลิ่น รส ของข้าวเหนียวที่ได้ทั้ง 6 ส่วน บันทึกผล

      5. อภิปรายผลการทดลองและสรุป

       

      อภิปรายและสรุป

             โดยทั่วไปก่อนที่จะนึ่งข้าวต้องมีการนำข้าวสารมาแช่ทิ้งไว้ค้างคืนหรือทิ้งไว้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง ประมาณ 15 นาทีข้าวเหนียวที่ได้ถึงจะนิ่มและสุก แต่การแช่ข้าวสารในน้ำเกลือโดยใช้เวลาในการแช่ทิ้งไว้แค่ 30 นาทีข้าวเหนียวที่ได้จะมีความนิ่มมากกว่าข้าวสารที่แช่ในน้ำเปล่าในเวลาเท่ากัน ซึ่งสี กลิ่น รส จะไม่แตกต่างกับข้าวเหนียวที่ใช้ข้าวสารแช่ในน้ำเปล่าเป็นระยะเวลานานหลายๆชั่วโมง และเมื่อทดลองโดยใช้ปริมาณเกลือที่ต่างกันคือ 5 กรัม ข้าวเหนียวที่ได้จะแข็งมาก ปริมาณเกลือ 10 กรัมข้าวเหนียวที่ได้จะค่อนข้างนิ่มแต่จะมีรสเค็ม เกลือ 10 กรัมจึงเป็นปริมาณที่เหมาะสมเพราะข้าวเหนียวที่ได้มีสี กลิ่น รสเหมือนข้าว

      เหนียวที่นึ่งโดยทั่วไปและจากการศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมโดยการเพิ่มระยะเวลาในการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือเป็นเวลา 60 นาทีและ 90 นาที ข้าวเหนียวที่ได้ก็จะนิ่มมากขึ้นโดยที่สี กลิ่น รสยังคงเดิม ถ้าเวลาเพิ่มเป็น 120 นาที 150 นาที และ 180 นาที ข้าวเหนียวที่

      ได้จะมีความนิ่มมากขึ้นและมีรสเค็มมากขึ้นเช่นกันที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าเมื่อนำข้าวสารไปแช่ในน้ำเกลือซึ่งจะมีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าในเมล็ดข้าวทำให้น้ำเกลือแพร่เข้าไปในเมล็ดข้าวผ่านโครงสร้างของ pactin ซึ่งจะละลายออกมาทำให้โครงสร้างของเซลล์

      อ่อนตัวลงเมื่อนำไปนึ่งจึงทำให้ข้าวเหนียวที่ได้มีความนิ่ม แต่ถ้าแช่ข้าวสารในน้ำเกลือเป็นเวลานานๆก็จะมีผลทำให้ข้าวเหนียวที่ได้มีรสเค็ม เมื่อนำเอาข้าวเหนียวที่ได้จากการทดลองไปให้ครูนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนลองรับประทานดู แล้วตอบแบบสอบถาม

      ความคิดเห็นส่วนใหญ่จัดคุณภาพให้ข้าวเหนียวที่ได้จากการนำข้าวสารไปแช่ในน้ำเกลือดีกว่าข้าวเหนียวที่ใช้ข้าวสารแช่ในน้ำเปล่าในเวลาที่เท่ากัน และจากการเพิ่มระยะเวลาในการแช่ข้าวสารนั้น ความคิดเห็นคนส่วนใหญ่จัดคุณภาพให้ข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่

      ข้าวสารในน้ำเกลือระยะเวลา 90 นาที ดีกว่าการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือระยะเวลาอื่นๆ

       

      สรุปผลการทดลอง

      1. เกลือช่วยลดระยะเวลาในการแช่ข้าวสารก่อนนำไปนึ่งจนสุก

      2. ข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือจะมีคุณภาพดีกว่าข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่ข้าวสารในน้ำเปล่าในระยะเวลาที่เท่ากัน

      3. ปริมาณเกลือที่เหมาะสมที่ใช้ในการแช่ข้าวสาร 250 กรัมในน้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใช้เวลาในการแช่30 นาที คือ 10 กรัม

      4. เวลาที่เหมาะสมที่ใช้ในการแช่ข้าวสาร 250 กรัมในน้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยใช้เกลือ 10 กรัม คือ 90นาที

      5. ถ้าระยะเวลาในการแช่ข้าวสารในน้ำเกลือเพิ่มมากขึ้นข้าวเหนียวที่ได้ก็จะมีรสเค็มมากขึ้นด้วย

      6. คนส่วนใหญ่จะชอบข้าวเหนียวที่ได้จากการแช่ข้าวสาร 250 กรัมในน้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยใช้เกลือ 10 กรัม และใช้เวลาในการแช่ข้าวสาร 90 นาที

      ข้อเสนอแนะ

      1.       นอกจากเกลือแล้วเราอาจใช้สารชนิดอื่นๆช่วยลดระยะเวลาในการแช่ข้าวสาร เช่น น้ำตาล

       

      ประโยชน์ที่ได้รับ

      1. สามารถลดระยะเวลาในการแช่ข้าวสารก่อนนำไปนึ่งได้

      2. ทำให้ประหยัดน้ำในการล้างข้าวสารได้

      3. เป็นการสร้างแนวคิดให้กับผู้ที่มีอาชีพในการจำหน่ายข้าวเหนียวได้นำไปใช้

      4. ใช้เป็นประโยชน์จากสารรอบตัวได้

      5. สามารถนำไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้
      6. สามารถนำภูมิปัญญาชาวบ้านไปเผยแพร่ในท้องถิ่นได้
      7. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้











      ภาคผนวก





































      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×